top of page
Writer's pictureseksacha

Fuji Gw690iii : RF Medium Format Camera ฉายา "Texas Leica"

Updated: Jan 11


The Fujifilm GW690III Professional 6x9 RF medium format film camera

Fuji GW690iii เป็นกล้องรุ่นสุดท้ายในสายการผลิตกล้อง Fuji ที่มีจุดเด่นคือ ขนาดเนกาทีฟหรือเฟรมภาพที่ใหญ่ถึง 6x9 ซม. ใช้ฟีล์ม 120 จะใช้ได้ 8 เฟรม/ม้วน (ฟีล์ม 220 จะถ่ายได้ 16 เฟรม) เป็นกล้องระบบเมคคานิดล้วน ไม่มีระบบไฟฟ้า ไม่มีระบบวัดเเสง สปีดชัตเตอร์สูงสุด 1/500s เป็นกล้อง MF ที่เฟรมภาพขนาดใหญ่ที่สุด (ยกเว้นกล้องพาโนรามา 6x12 และ 6x17)


Fuji GW690iii ถูกพัฒนามาจาก Fujica G690 ซึ่งเปิดตัวในปี 1968 โดยมีจุดเด่นที่เลนส์สามารถถอดเปลี่ยนได้ แต่เนื่องจากเลนส์ที่ขายได้ส่วนใหญ่มีเพียงเลนส์ 65mm (มุมกว้าง) และ 100mm (มาตรฐาน) ในปี 1978 Fuji จึงเปิดตัว Fujica GW690 Professional ที่มาพร้อมเลนส์ติดกล้อง 90mm f/3.5 และในปี 1980 ได้ออกแบบรุ่น GSW690 ซึ่งเป็นเวอร์ชันมุมกว้างพร้อมเลนส์ 65mm f/5.6 แบบติดกล้อง

ทั้งสองรุ่นย่อย GW690(เลนส์ 90mm/3.5) และ GSW690 (เลนส์ 65mm/5.6) มีการพัฒนาปรับปรุงเพียงเล็กน้อยในรุ่นถัด ๆ มา รวมถึงมีการผลิตรุ่นที่ใช้ฟอร์แมต 6x7 และ 6x8 จนกระทั่ง Fuji GW690iii หรือ GSW690iii เปิดตัวในปี 1992 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายของสายการผลิตนี้


ส่วนสำคัญที่ทำให้ได้รับฉายา "The Texas Leica" นอกจากขนาดกล้องที่ใหญ่แล้ว คือ เลนส์ที่คมกริป ของ EBC Fujinon 90mm f/3.5 มีโครงสร้างเลนส์ 5 ชิ้นใน 5 กลุ่ม ใบชัตเตอร์แบบตรง 5 ใบ ระยะโฟกัสใกล้สุดอยู่ที่ 1 เมตร และรองรับฟิลเตอร์ขนาด 67 มม. เมื่อเทียบกับกล้องฟอร์แมต 135 (ฟิล์ม 35mm) ระยะโฟกัสจะอยู่ที่ประมาณ 40-45mm.


อัตรส่วนของเฟรมภาพเมื่อเทียบกับกล้อง 35mm และกล้องแบบ Larg Format

จุดออกแบบที่ไม่เหมือนใครของ GW690iii คือ การตั้งค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์จะถูกปรับบนตัวเลนส์โดยตรง ผ่านวงแหวนสองวงที่วางคู่ขนานกัน ซึ่งซ่อนอยู่ใต้ฮูดเลนส์แบบยืดหดได้. ด้านบนและด้านหลังของ Fuji GW690iii ไม่มีปุ่มหมุนใด ๆ ยกเว้นตัวเลือกฟิล์ม (220 สำหรับ 16 เฟรม, 120 สำหรับ 8 เฟรม หรือ 120 สำหรับ 4 เฟรม). สุดท้าย กล้องมีตัวนับจำนวนภาพอยู่ที่ด้านล่าง ซึ่งสปริงในตัวนับนี้เป็นสาเหตุของเสียงคลิกที่ดังมากเมื่อกดชัตเตอร์.


Fujifilm GW690III: A classic medium format rangefinder camera.

ช่องมองภาพของกล้องนี้เป็นแบบเรนจ์ไฟน์เดอร์ ความสว่างค่อนข้างดี มีความคมชัดและคอนทราสต์สูง ทำให้มองภาพได้อย่างดี แต่จุดโฟกัสแบบเรนจ์ไฟน์เดอร์แบบวงกลมอาจจะใช้งานยากในที่ที่มีแสงจ้ามากๆ เนื่องจากเป็นจุดโฟกัส (ทับซ้อน) มีขนาดเล็กและมืดเกินไป ทำให้หลงตำแหน่งได้ง่าย

สเปคของช่องมองภาพมีอัตราขยาย 75% โดยครอบคลุมพื้นที่ 95% เมื่อระยะโฟกัสอยู่ที่ 1 เมตร และ 92% เมื่อโฟกัสที่ระยะอนันต์ สรุป: ช่องมองภาพให้ประสบการณ์ที่ดี แต่จุดโฟกัสเรนจ์ไฟน์เดอร์อาจไม่สะว่างสำหรับการใช้งานในที่มืดๆ. (ไม่ถึงกับแย่นะครับ) ใช้และคุ้นเคยไปสักพักก็จะสะดวกและสนุกมากครับ



with Provia 100F

เมื่อเปิดรูรับแสงกว้างสุดที่ 3.5 ผลลัพธ์ที่ได้นั้นสวยงามและให้โบเก้ที่สวยงามตามความรู้สึกส่วนตัวนะครับ และผมชื่นชอบความคมชัดและมิติของภาพเป็นพิเศษ

จุดที่งุดหงิดก็ตรงที่ระยะโฟกัสที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 1 เมตร นี้แหละ จึงไม่เหมาะสำหรับการถ่ายแนว Portrait สักเท่าใหร่ ส่วนภาพแนวมาโครลืมไปได้เลย แต่สิ่งที่ดีคือเราโฟกัสวัตถุที่อยู่ห่างออกไปได้ถึง 10 เมตรและยังคงมีโบเก้ที่เห็นได้ชัดในพื้นหลัง ความรู้สึกนี้ค่อนข้างแตกต่างจากการถ่ายภาพด้วยกล้อง 35mm อีกเรื่องที่ต้องระวังสำหรับกล้อง RF อย่าง Fuji GW690III คือปัญหาด้าน Parallax สำหรับงานถ่ายภาพบุคคล



GW690iii - ที่ชื่นชอบ


  1. เฟรมขนาดใหญ่ : สิ่งที่ชอบที่สุดเกี่ยวกับกล้องนี้คือขนาดเฟรมเนกาทีฟ 6x9 ซม. ซึ่งเป็นขนาดใหญ่ที่สุดที่กล้อง Medium Format สามารถสร้างได้ หากต้องการขนาดใหญ่กว่านี้ต้องเปลี่ยนไปใช้กล้อง Large Format แล้วแหละครับ (เช่น 4x5 นิ้ว)

  2. เลนส์คมชัด : เลนส์ของกล้องนี้มีความคมชัดสูงมาก และไม่มีการบิดเบือนหรือความคลาดเคลื่อนให้เห็น เป็นเลนส์ไพรม์ จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณภาพจะดีเยียม

  3. กลไกล้วน : กล้องนี้เป็นกลไกทั้งหมด สร้างโครงสร้างจะแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานหนักได้

  4. ไม่ต้องพึ่งแบตเตอรี่ : กล้องนี้ไม่มีแบตเตอรี่ที่อาจหมดในสภาพอากาศหนาวเย็น ซึ่งเหมาะมากสำหรับการถ่ายภาพในพื้นที่หนาวจัด เช่นถ่ายหิมะ ธารน้ำแข็ง

  5. ราคามือสองจับต้องได้: กล้อง GW690ii หรือ GW690iii ยังสามารถหาซื้อได้ในราคาที่ค่อนข้างสมเหตุสมผล (ผมได้ GW690ii ในราคา 14,500บาท, GW690iii สภาพ Mint ไม่มีรอยใดๆ 23,500บาท)


with Lomography CN800
with Kodak Portra400

GW690iii - ที่ไม่ชอบ

  1. ระยะโฟกัสใกล้สุด 1 เมตร : กล้องนี้มีระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 1 เมตร เนื่องจากเป็นกล้องเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ จึงไม่เหมาะสำหรับการถ่ายมาโครหรือการถ่ายระยะใกล้ เช่น พอร์ตเทรตที่ต้องการความใกล้ชิด

  2. ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 1/500 วินาที : แม้ว่ารูรับแสงจะปรับได้ถึง f/32 แต่ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดที่ 1/500 วินาทีอาจไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องถ่ายทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง หากมีความเร็วชัตเตอร์สูงถึง 1/2000 วินาทีจะดีกว่า.



37 views0 comments

Recent Posts

See All

Greeting

Comments


bottom of page